สไลด์

วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบงานที่ 2

แนวคิดเกี่ยวกับการจัดนวัตกรรมและสารสนเทศของสถานศึกษา
วิทยาลัยสารพัดช่างพัทลุง
การบริหารสถานศึกษาในสถานการณ์ปัจจุบัน ผู้บริหารสถานศึกษาจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมองหาวิธีการที่จะนำมาพัฒนา คุณภาพภารการศึกษา เพื่อแก้ปัญหาการบริหารจัดการด้านกระบวนการเรียนการสอน ระบบงานสถานศึกษา พัฒนาบุคลากร การบริหารงบประมาณ รวมทั้งการอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการบริการ เพื่อให้เกิดความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Strakeholder) โดยอาศัยเครื่องมือใหม่ ๆ เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ให้สอดคล้องกับสังคมปัจจุบันที่เป็นสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-Based economy หรือ KBE) ความรู้จึงนับว่าเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนให้สังคมก้าวหน้า โรงเรียนซึ่งเป็นสถาบันที่มีหน้าที่เตรียมคนให้พร้อมเข้าสู่สังคมจึงต้อง ตระหนักถึงอำนาจของความรู้ และจะต้องเตรียมคนในยุคต่อไปให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นอย่าง รวดเร็ว ข้อมูลสารสนเทศ การสื่อสาร และเทคโนโลยี (ICT) นอกจากจะเป็นเรื่องที่จำเป็นและสำคัญสำหรับการบริหารจัดการในยุคปัจจุบัน แล้ว ยังมีความจำเป็นสำหรับการจัดการเรียนการสอนด้วย เพื่อเป็นการเตรียมคนรุ่นใหม่ให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงโดยการปลูกฝังทักษะ ที่จำเป็นเช่น ทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี ทักษะการแสวงหาความรู้ ทักษะการประเมินคุณค่าของความรู้
ดังนั้นบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษายุคข้อมูลสารสนเทศ จำเป็นจะต้องพัฒนาวิธีการเรียนรู้ด้วนตนเองให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยี ซึ่งมีบทบาทภารกิจที่สำคัญของผู้บริหารมิติใหม่ คือ การเรียนรู้การวางแผน การปรับโครงสร้างระบบงาน สภาวะการนำ การตรวจสอบติดตาม นิเทศ และประเมินผลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information Communication and Technology : ICT.) เป็นเครื่องมือสำคัญและจำเป็นสำหรับพัฒนาองค์กร ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องตระหนักและพยายามจัดให้มี พัฒนา และนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ทั้งครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในบริบทของโรงเรียน เพื่อให้มีความตระหนัก มีความรู้ ความเข้าใจและทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ผู้บริหารสถานศึกษาจึงเสมือนเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) มิติของผู้บริหารสถานศึกษายุค ICT. ต้องคิดกว้างมองไกล กล้าคิดกล้าทำ กล้าได้กล้าเสีย นำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ฉะนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาจึงจำเป็นต้องพัฒนาตนเองให้เป็นผู้นำแบบร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตรวจสอบ ร่วมภาคภูมิใจ สร้างทีมงานให้เกิดพลังร่วมใจ (Empowerment) กล้าเสี่ยงกล้าเผชิญปัญหาความยุ่งยากที่ซับช้อน คิดเชิงบวก มองวิกฤตให้เป็นโอกาส โดยปรับกระบวนทัศน์ (Paradigm) ไม่หนีปัญหา ไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง คิดค้นหาสิ่งใหม่ ๆ ที่ดีและเหมาะสมนำมาทดลองใช้เสมอ และนำวิธีการใหม่มาใช้อย่างต่อเนื่อง ปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา ไม่กลัวความล้อมเหลว กล้าลองผิดลองถูก กระตุ้นยั่วยุให้ครูหารูปแบบและวิธีการพัฒนางาน พัฒนานักเรียน จัดกิจกรรมการเรียนรู้ใหม่ที่แปลกและแตกต่างสร้างทางเหลือหลากหลาย ใช้สื่อเทคโนโลยี สารสนเทศและอินเทอร์เนต รวมทั้งบำรุงขวัญ เสริมแรงให้กำลังใจ และสนับสนุนอำนวยความสะดวก เป็นกัลยาณมิตร ประสานความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาต้องปรับปรุงแก้ไขเปลี่ยนแปลงเจตคติ กล้านำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาเป็นเครื่องมือพัฒนาคุณภาพการ ศึกษา หากประสงค์จะประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการสถานศึกษา

0 ความคิดเห็น: