สไลด์

วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 9

สรุปใบงานครั้งที่ 9

คุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพ
มีลักษณะเด่น ๆ ดังนี้
1. การครองตน ผู้บริหารต้องสร้างคุณค่าให้เป้นที่ประจักษ์โดยการสร้างศรัทธา
เป็นที่ยกย่องและชื่นชมของบุคคลอื่นโดยมีลักษณะดังนี้
1) มีกิริยามารยาทดีและแต่งกายดี
2) มีความเป็นผู้ใหญ่ สมำเสมอ คงเส้นคงวา เชื่อถือได้
3) ฝักใฝ่หาความรู้ และประสบการณ์เพิ่มเติมอยู่เสมอ
4) พูดจาไพเราะต่อบุคคลอื่น
5) มีวินัยในตนเอง
6) ยึดหลักธรรมคำสอนของศาสนา
2. การครองคน ผู้บริหารต้องสามารถปกครองผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติงาน
ร่วมกันจนบรรลุวัตถุประสงค์ อยู่ด้วยกันด้วยความสุขให้ความรัก ความเมตตาต่อกัน
เสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกันทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี โดยมีลักษณะดังนี้
1) ประพฤติดี ประพฤติชอบ
2) มีความหนักแน่น
3) มีความยุติธรรม
4) มีอัธยาศัยดี
5) ยึดหลักธรรม
3. การครองงาน ผู้บริหารต้งอมีความสามารถในหน้าที่การงานอย่างดี
สิ่งที่จะทำให้ผู้บริหารประสบความสำเร็จในการครองงาน
1) มีความรอบรู้ ประสบการณ์ ทักษะในการงานของตน
2) มีความรับผิดชอบสูง
3) มีความคิดสร้างสรรค์ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล เตรียมรับ
กับปัญหา วางแผนที่จะดำเนินงานในอนาคต
4) ยึดหลักธรรมประจำใจ

นายณัฐกร อาจทอง 5246701077

ใบงานที่ 14

ความเห็นเกี่ยวกับการใช้ blogger
เป็นความรู้ใหม่ที่ได้รับจากการเรียน สามารถนำไปพัฒนางานได้ ยังมีหลายสิ่งที่ไม่เคยรู้และอีกหลายสิ่งที่เรายังไม่รู้ ดีทั้งสองบล็อกแต่รูปแบบการใช้ และกลุ่มผู้ใช้แตกต่างกันบ้าง

เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของ blogspot กับ gotoknow
1. กลุ่มผู้ใช้บล็อก gotoknow มากกว่า blogspot
2. รูปแบบบล็อก blogspot สวยกว่า gotoknow
3. blogspot เหมาะกับการจัดการกลุ่ม มากกว่า gotoknow
4. gotoknow เหมาะกับการเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณชนมากกว่า blogspot


นายณัฐกร อาจทอง 5246701077 ป.บริหารการศึกษา

ใบงานที่ 13

สัปดาห์ทัศนศึกษา ไม่ได้ไปร่วมทัศนศึกษากับเพื่อน ป.บัณฑิตบริหารการศึกษา ช่วงวันที่ 17 - 22 มกราคม 2553 เนื่องจากไปราชการที่ จ.อุบลราชธานี ในระหว่างวันที่ 15 - 25 มกราคม 2553 ไปประชุมองค์การวิชาชีพ ฯ ระดับชาติ โดยคัดเลือกจากสถานศึกษาที่ผ่านการประเมินองค์การวิชาชีพ ฯระดับภาค วิทยาลัยสารพัดช่างพัทลุงได้ผ่านการประเมิน ระดับเหรียญทอง โดยมีกระผม นายณัฐกร อาจทอง หัวหน้ากิจกรรมนักเรียนนักศึกษาเป็นผู้ดูแลอยู่ ในการไปครั้งนี้มีครู และนักศึกษาองค์การวิชาชีพร่วมไปด้วย ได้ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ได้อะไรหลาย ๆอย่างที่จะนำมาพัฒนาองค์การวิชาชีพฯ และวิทยาลัยฯ ในโอกาสต่อไป

ใบงานที่ 12

ใบงานที่ 12 การใช้ spss

โปรแกรม SPSS เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติอีกโปรแกรมหนึ่ง
-การเริ่มต้นสู่โปรแกรม
เมื่อคลิกที่โปรแกรม SPSS จะเข้าสู่โปรแกรมดังรูป ซึ่งหากมีแฟ้มข้อมูลเดิม จะสามารถเลือกจากหน้าต่างนี้ หากต้องการเริ่มต้นใหม่ ให้คลิก Cancel เพื่อเข้าสู่ส่วนตารางทำงาน หรือที่เรียกว่า Data Editor

ข้อกำหนดโปรแกรมทั่วไป
SPSS แบ่งส่วนที่ใช้ป้อนข้อมูลเป็น sheet 2 ส่วน หรืออาจเรียกเป็น Tab ได้แก่
Data View : เป็นส่วนสำหรับใส่ข้อมูล ซึ่งแสดงชื่อตัวแปรเป็น Var ทุกคอลัมน์เมื่อทำการป้อนข้อมูล จะเปลี่ยนเป็น Var00001Var00002 … หากต้องการกำหนดชื่อตัวแปรเป็นอย่างอื่น ให้เลือกที่ Variable View จาก Sheet Tab ส่วนแถวจะอ้างอิงตั้งแต่ 1, 2, 3 ไปเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตาม หากพบว่าตัวอักษรที่แสดงชื่อตัวแปรหรือแถว มีขนาดเล็กมองไม่สะดวก สามารถเปลี่ยนได้โดยการเลือกเมนู View \ Fonts… เพื่อเลือกชนิดอักษรและขนาดตามต้องการ ( แนะนำให้ใช้ MS San Serif ขนาด 10point)
Variable View : เป็นส่วนที่กำหนดลักษณะเฉพาะต่าง ๆ ของตัวแปร ได้แก่ ชื่อตัวแปร ( มีได้ไม่เกิน 8 ตัวอักษรรวมตัวเลข โดยห้ามเว้นช่องว่างหรือวรรค และห้ามมีสัญลักษณ์อื่น ๆ เช่น วงเล็บ เครื่องหมายบวก ลบ คูณ หาร เป็นต้น ) จำนวนทศนิยมความกว้างของคอลัมน์ Label ( ใช้ระบุรายละเอียดของตัวแปรซึ่งจำกัดเพียง 8 ตัวอักษร แต่ Label สามารถพิมพ์ข้อความได้มากกว่า รวมทั้งมีช่องว่างหรือสัญลักษณ์ใด ๆ ได้ ) เป็นต้น

•การนำข้อมูลเข้าสู่ Work sheet หรือ Data Editor
สำหรับการนำข้อมูลเข้าสู่ Data Editor สามารถทำได้หลายวิธี แต่ 2 วิธีที่นิยม ได้แก่
•การเปิดไฟล์จากไฟล์ประเภทอื่น
โดยโปรแกรม SPSS สามารถที่จะเปิดไฟล์ได้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นไฟล์จากโปรแกรม Excel, Lotus, Sysstat หรือ Dbase สามารถเปิดได้โดยใช้เมนู File \ Open \ Data จากนั้นเลือกชนิดของไฟล์ เลือก Drive และ Folder ให้ถูกต้อง
•การป้อนข้อมูลโดยตรง
ในการป้อนข้อมูล หากต้องการป้อนข้อมูลเข้าอย่างโดยตรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ใน Data Editor สามารถทำการ Copy และ Paste ข้อมูลในลักษณะของ Spread sheet ทั่วไปได้ ทำให้สะดวกต่อการใช้ป้อนข้อมูล
•เมนูสำหรับการวิเคราะห์ผลทางสถิติ
ในการวิเคราะห์นั้น จะใช้เมนู Statistics ดังรูป โดยจะมีเมนูย่อยที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางสถิติต่าง ๆ เช่น Descriptive Statistics, Compare Mean, General Linear Model, Correlation หรือ Regression เป็นต้น

โดยณัฐกร อาจทอง 5246701077 บริหารการศึกษา

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 3

ใบงานที่ 3 วิชา การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศสรุป ความรู้ที่ได้รับในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2552การจัดหาความรู้- แนวคิดและกลยุทธ์ในการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้- บทบาทใหม่ของการบริหาร ทุนมนุษย์- การจัดการความรู้: แนวคิดข้อมูล ความเฉลียวฉลาด ความรู้ เชาว์ปัญญา- ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลสารสนเทศ ความรู้และปัญญา- การบริหารทรัพยากรบุคคล ในฐานะทรัพย์สินที่จับต้องได้- ความรู้อยู่ที่ไหนในหน่วยงาน- ความสำคัญของทรัพยากรบุคคล (ทุนมนุษย์)- การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนรูปแบบของความรู้ รูปแบบการจัดการความรู้ โมเดลปลาทู การบวนการจัดการความรู้ วิเคราะห์สังเคราะห์ความรู้ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ชุมชนนักปฏิบัติ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ เครือข่ายความรู้ ประโยชน์จของ CoP วงจรการเรียนรู้ของสมาชิก CoPคลังความรู้- ข้อควรระวังในการทำ KS- กระบวนการจัดการความรู้การเชื่อมโยง KM สู่วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็น ยุทธศาสตร์- องค์การที่มุ่งเน้นยุทธศาสตร์- การบริหารจัดการความรู้คืออะไร- องค์ประกอบสำคัญ ของการบริหารจัดการความรู้- ประเภทของความรู้สรุป : นายณัฐกร    อาจทอง 5246701077

วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 8

1.ความหมายของคำว่าสถิติ (Statistics) อาจพิจารณาได้ 3 ความหมาย ดังนี้
สถิติ หมายถึง ตัวเลขที่ใช้บรรยายเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริง (facts) ของเรื่องต่างๆ ที่เราต้องการศึกษา เช่น สถิติจำนวนผู้ป่วย สถิติจำนวนคนเกิด สถิติจำนวนคนตาย เป็นต้น
สถิติ หมายถึง ศาสตร์หรือวิชาที่ว่าด้วยหลักการและระเบียบวิธีทางสถิติ สถิติใน ความหมาย นี้มักเรียกว่า สถิติศาสตร์ (Statistics)
สถิติ หมายถึง ค่าที่คำนวณขึ้นมาจากตัวอย่าง เพื่อแสดงถึงคุณลักษณะบางอย่างของข้อมูลชุดนั้น โดยทั่วไปจะนำค่าสถิติไปใช้ในการประมาณค่าพารามิเตอร์
2.ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีความหมายว่าอย่างไร และแต่ละค่าเป็นสถิติประเภทใด
ค่าเฉลี่ย หรือค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic mean) คือค่าเฉลี่ยของข้อมูลทั้งหมด ความหมาย
เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
 ค่ามัธยฐาน (Median) คือค่าของข้อมูลที่จุดกึ่งกลางของการกระจายของข้อมูลโดย 50% ของข้อมูลมี ค่าสูงกว่าค่า มัธยฐาน และ 50% มีค่าต่ำกว่าค่ามัธยฐาน และมักใช้ในกรณีที่ การกระจายของข้อมูลมีลักษณะไม่เท่ากันทั้งสองข้าง (Asymmetry) หรือมีลักษณะเบ้ไปทางซ้ายหรือทางขวา
เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
ค่าฐานนิยม (Mode) คือค่าของข้อมูลที่มีความถี่มากที่สุดในข้อมูลของชุดนั้นๆ ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่งค่าหรือไม่มีเลยก็ได้ เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นการวัดการกระจายของข้อมูลว่าจะเบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ยมากน้อยเท่าใด เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
3.คำว่าประชากร และกลุ่มตัวอย่างเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ให้อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
ประชากร (Population) หมายถึง กลุ่มสมาชิกทั้งหมดที่ต้องการศึกษา อาจจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้ ใช้สัญลักษณ์ “N” แทนจำนวนประชากร
 กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง กลุ่มสมาชิกที่ถูกเลือกมาจากประชากรด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งเพื่อเป็นตัวแทนในการศึกษาและเก็บข้อมูล ใช้สัญลักษณ์ “n” แทนสมาชิกของกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างต่างกัน เพราะกลุ่มตัวอย่างเป็นเพียงสมาชิกส่วนหนึ่งของประชากรที่ถูกคัดเลือกมาใช้ในการศึกษาด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ตัวอย่าง เช่น เมื่อผู้วิจัยต้องการศึกษาความต้องการในการพัฒนาตนเองของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีจำนวนมาก ผู้วิจัยไม่สามารถศึกษาจากประชากรทั้งหมดได้จึ้งคัดเลือกผู้บริหารมาศึกษาเพียงบางส่วนโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยหลักความน่าจะเป็น ตารางเลขสุ่ม หรืออื่นๆ ผลที่ได้จากการศึกษาจะอ้างอิงไปสู่ประชากรทั้งหมด
4.นามบัญญัติ ระดับอันดับที่ ระดับช่วง ระดับอัตราส่วน
มาตรนามบัญญัติ (Nominal Scale)
- เป็นมาตรวัดที่หยาบที่สุด จัดข้อมูลออกเป็นกลุ่มๆ แยกตามประเภทหรือชนิด
- สถิติ : ความถี่ ร้อยละ ฐานนิยม หรือใช้สถิติแบบนอนพาราเมตริก
- ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่ไม่มีขนาด ไม่มีความเท่ากันของช่วง และไม่มีศูนย์สมบูรณ์
 มาตรเรียงลำดับ (Ordinal Scale)
- เป็นมาตรวัดที่ใช้กับข้อมูลที่สามารถจัดเรียงอันดับความสำคัญหรือสามารถเปรียบเทียบกันได้
- สถิติ : ฐานนิยม มัธยฐาน พิสัย เปอร์เซนต์ไทล์ และสถิติแบบนอนพาราเมตริก
- ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่มีการจัดลำดับข้อมูลจากมากไปน้อย หรือจากน้อยไปมากได้ แต่ไม่ได้บอก
ถึงปริมาณแต่ละอันดับว่ามากน้อยเท่าใด ไม่มีความเท่ากันของช่วงคะแนน และไม่มีศูนย์สมบูรณ์
มาตรอันตรภาค (Interval Scale)
- เป็นมาตรวัดที่สามารถบอกได้ทั้งทิศทางและขนาดของ ความแตกต่างของข้อมูล มาตรวัดนี้ไม่มีศูนย์ที่แท้จริง (absolute zero)
- สถิติ : ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
- ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่สามารถบอกระยะห่างของตัวเลข 2 ตัว ว่ามีความแตกต่างกันมากน้อยเท่าใด มีเกณฑ์อยู่กับสิ่งที่เรียกว่าศูนย์สมมติ
 มาตรอัตราส่วน (Ratio Scale)
- เป็นมาตรวัดที่มีลักษณะสมบูรณ์ทุกอย่าง ดีกว่ามาตรวัดอันตรภาคตรงที่มาตรการวัดนี้มีศูนย์
ที่แท้จริง

- สถิติ : สถิติที่ใช้กับการวัดในระดับนี้ใช้ได้ทุกวิธีที่มีอยู่
- ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่มีระดับการวัดเหมือนมาตราอันตรภาค และมีศูนย์สมบูรณ์ ข้อมูลที่
เป็นอัตราส่วนสามารถนำมาบวก ลบ คูณ หาร ได้ และสามารถใช้ได้กับสถิติทุกประเภท
5.ตัวแปรคืออะไร ตัวแปรต้นคืออะไร ตัวแปรตามคืออะไร

ตัวแปร หมายถึง สิ่งที่เปลี่ยนค่าไปได้หลายค่า เป็นลักษณะคุณภาพ คุณสมบัติของบุคคล สิ่งของ หรือสิ่งที่สนใจจะนำมาศึกษาที่สามารถนับได้ วัดได้ หรือหมายถึง สิ่งที่แปรเปลี่ยนไปตามระยะเวลา แปรเปลี่ยนได้หลายค่า หรือมากกว่า 1 ลักษณะ เช่นเชื้อชาติ แปรค่าได้เป็น ไทย , จีน , ….
ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (independent variable) เป็นตัวแปรเหตุที่ทำให้ผลตามมา หรือทำให้สิ่งที่เกี่ยวข้องอยู่ด้วยเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะ หรือ แปรสภาพไป ตัวแปรต้นจะมีลักษณะดังนี้
- เป็นตัวแปรเหตุ
- เป็นตัวแปรที่มาก่อน
- เป็นตัวแปรที่จัดกระทำในการทดลอง
- มีลักษณะเป็นตัวทำนาย
- เป็นตัวกระตุ้น
- มีความคงทน ถาวร
ตัวแปรตาม (dependent variable) เป็นตัวแปรที่มีผลมาจากตัวแปรต้น ซึ่งตัวแปรตามจะมีลักษณะ ดังนี้
- เป็นตัวแปรที่เป็นผล
- เกิดขึ้นภายหลัง
- เกิดขึ้นเองไม่สามารถจัดกระทำได้ในการทดลอง
- เป็นตัวถูกทำนาย
- เป็นตัวตอบสนอง
- เปลี่ยนแปลงได้ง่าย
6.สมมติฐาน คืออะไร สมมติฐานการวิจัยมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

สมมติฐาน คือ การคาดการณ์ผลการวิจัยไว้ล่วงหน้าโดยมีทฤษฎีหรือข้อค้นพบจากผลงานวิจัยที่ผ่านมามารองรับ เป็นคำตอบที่คาดการณ์ไว้ก่อนที่จะดำเนินการวิจัยจริง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- สมมติฐานการวิจัย เป็นข้อความที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ที่ผู้วิจัยคาดว่าจะเกิดขึ้นมักจะเขียนในเชิงความเรียงธรรม
- สมมติฐานทางสถิติ เป็นการนำข้อความจากสมมติฐานการวิจัยมาเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ทางสถิติ
7. T-test, F-test เหมือนหรือต่างอย่างไร

T-test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย เหมาะสำหรับถ้าตัวแปรเป็นตัวแปรเชิงปริมาณที่สามารถวัดค่าได้
F – test (หรือ ANOVA) เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไป
T-test และ F – test เหมือนกันคือเป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย ต่างกันคือ F – test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยของข้อมูลตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป