1.ความหมายของคำว่าสถิติ (Statistics) อาจพิจารณาได้ 3 ความหมาย ดังนี้
สถิติ หมายถึง ตัวเลขที่ใช้บรรยายเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริง (facts) ของเรื่องต่างๆ ที่เราต้องการศึกษา เช่น สถิติจำนวนผู้ป่วย สถิติจำนวนคนเกิด สถิติจำนวนคนตาย เป็นต้น
สถิติ หมายถึง ศาสตร์หรือวิชาที่ว่าด้วยหลักการและระเบียบวิธีทางสถิติ สถิติใน ความหมาย นี้มักเรียกว่า สถิติศาสตร์ (Statistics)
สถิติ หมายถึง ค่าที่คำนวณขึ้นมาจากตัวอย่าง เพื่อแสดงถึงคุณลักษณะบางอย่างของข้อมูลชุดนั้น โดยทั่วไปจะนำค่าสถิติไปใช้ในการประมาณค่าพารามิเตอร์
2.ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีความหมายว่าอย่างไร และแต่ละค่าเป็นสถิติประเภทใด
ค่าเฉลี่ย หรือค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic mean) คือค่าเฉลี่ยของข้อมูลทั้งหมด ความหมาย
เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
ค่ามัธยฐาน (Median) คือค่าของข้อมูลที่จุดกึ่งกลางของการกระจายของข้อมูลโดย 50% ของข้อมูลมี ค่าสูงกว่าค่า มัธยฐาน และ 50% มีค่าต่ำกว่าค่ามัธยฐาน และมักใช้ในกรณีที่ การกระจายของข้อมูลมีลักษณะไม่เท่ากันทั้งสองข้าง (Asymmetry) หรือมีลักษณะเบ้ไปทางซ้ายหรือทางขวา
เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
ค่าฐานนิยม (Mode) คือค่าของข้อมูลที่มีความถี่มากที่สุดในข้อมูลของชุดนั้นๆ ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่งค่าหรือไม่มีเลยก็ได้ เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นการวัดการกระจายของข้อมูลว่าจะเบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ยมากน้อยเท่าใด เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
3.คำว่าประชากร และกลุ่มตัวอย่างเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ให้อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
ประชากร (Population) หมายถึง กลุ่มสมาชิกทั้งหมดที่ต้องการศึกษา อาจจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้ ใช้สัญลักษณ์ “N” แทนจำนวนประชากร
กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง กลุ่มสมาชิกที่ถูกเลือกมาจากประชากรด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งเพื่อเป็นตัวแทนในการศึกษาและเก็บข้อมูล ใช้สัญลักษณ์ “n” แทนสมาชิกของกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างต่างกัน เพราะกลุ่มตัวอย่างเป็นเพียงสมาชิกส่วนหนึ่งของประชากรที่ถูกคัดเลือกมาใช้ในการศึกษาด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ตัวอย่าง เช่น เมื่อผู้วิจัยต้องการศึกษาความต้องการในการพัฒนาตนเองของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีจำนวนมาก ผู้วิจัยไม่สามารถศึกษาจากประชากรทั้งหมดได้จึ้งคัดเลือกผู้บริหารมาศึกษาเพียงบางส่วนโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยหลักความน่าจะเป็น ตารางเลขสุ่ม หรืออื่นๆ ผลที่ได้จากการศึกษาจะอ้างอิงไปสู่ประชากรทั้งหมด
4.นามบัญญัติ ระดับอันดับที่ ระดับช่วง ระดับอัตราส่วน
มาตรนามบัญญัติ (Nominal Scale)
- เป็นมาตรวัดที่หยาบที่สุด จัดข้อมูลออกเป็นกลุ่มๆ แยกตามประเภทหรือชนิด
- สถิติ : ความถี่ ร้อยละ ฐานนิยม หรือใช้สถิติแบบนอนพาราเมตริก
- ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่ไม่มีขนาด ไม่มีความเท่ากันของช่วง และไม่มีศูนย์สมบูรณ์
มาตรเรียงลำดับ (Ordinal Scale)
- เป็นมาตรวัดที่ใช้กับข้อมูลที่สามารถจัดเรียงอันดับความสำคัญหรือสามารถเปรียบเทียบกันได้
- สถิติ : ฐานนิยม มัธยฐาน พิสัย เปอร์เซนต์ไทล์ และสถิติแบบนอนพาราเมตริก
- ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่มีการจัดลำดับข้อมูลจากมากไปน้อย หรือจากน้อยไปมากได้ แต่ไม่ได้บอก
ถึงปริมาณแต่ละอันดับว่ามากน้อยเท่าใด ไม่มีความเท่ากันของช่วงคะแนน และไม่มีศูนย์สมบูรณ์
มาตรอันตรภาค (Interval Scale)
- เป็นมาตรวัดที่สามารถบอกได้ทั้งทิศทางและขนาดของ ความแตกต่างของข้อมูล มาตรวัดนี้ไม่มีศูนย์ที่แท้จริง (absolute zero)
- สถิติ : ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
- ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่สามารถบอกระยะห่างของตัวเลข 2 ตัว ว่ามีความแตกต่างกันมากน้อยเท่าใด มีเกณฑ์อยู่กับสิ่งที่เรียกว่าศูนย์สมมติ
มาตรอัตราส่วน (Ratio Scale)
- เป็นมาตรวัดที่มีลักษณะสมบูรณ์ทุกอย่าง ดีกว่ามาตรวัดอันตรภาคตรงที่มาตรการวัดนี้มีศูนย์
ที่แท้จริง
- สถิติ : สถิติที่ใช้กับการวัดในระดับนี้ใช้ได้ทุกวิธีที่มีอยู่
- ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่มีระดับการวัดเหมือนมาตราอันตรภาค และมีศูนย์สมบูรณ์ ข้อมูลที่
เป็นอัตราส่วนสามารถนำมาบวก ลบ คูณ หาร ได้ และสามารถใช้ได้กับสถิติทุกประเภท
5.ตัวแปรคืออะไร ตัวแปรต้นคืออะไร ตัวแปรตามคืออะไร
ตัวแปร หมายถึง สิ่งที่เปลี่ยนค่าไปได้หลายค่า เป็นลักษณะคุณภาพ คุณสมบัติของบุคคล สิ่งของ หรือสิ่งที่สนใจจะนำมาศึกษาที่สามารถนับได้ วัดได้ หรือหมายถึง สิ่งที่แปรเปลี่ยนไปตามระยะเวลา แปรเปลี่ยนได้หลายค่า หรือมากกว่า 1 ลักษณะ เช่นเชื้อชาติ แปรค่าได้เป็น ไทย , จีน , ….
ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (independent variable) เป็นตัวแปรเหตุที่ทำให้ผลตามมา หรือทำให้สิ่งที่เกี่ยวข้องอยู่ด้วยเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะ หรือ แปรสภาพไป ตัวแปรต้นจะมีลักษณะดังนี้
- เป็นตัวแปรเหตุ
- เป็นตัวแปรที่มาก่อน
- เป็นตัวแปรที่จัดกระทำในการทดลอง
- มีลักษณะเป็นตัวทำนาย
- เป็นตัวกระตุ้น
- มีความคงทน ถาวร
ตัวแปรตาม (dependent variable) เป็นตัวแปรที่มีผลมาจากตัวแปรต้น ซึ่งตัวแปรตามจะมีลักษณะ ดังนี้
- เป็นตัวแปรที่เป็นผล
- เกิดขึ้นภายหลัง
- เกิดขึ้นเองไม่สามารถจัดกระทำได้ในการทดลอง
- เป็นตัวถูกทำนาย
- เป็นตัวตอบสนอง
- เปลี่ยนแปลงได้ง่าย
6.สมมติฐาน คืออะไร สมมติฐานการวิจัยมีกี่ประเภทอะไรบ้าง
สมมติฐาน คือ การคาดการณ์ผลการวิจัยไว้ล่วงหน้าโดยมีทฤษฎีหรือข้อค้นพบจากผลงานวิจัยที่ผ่านมามารองรับ เป็นคำตอบที่คาดการณ์ไว้ก่อนที่จะดำเนินการวิจัยจริง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- สมมติฐานการวิจัย เป็นข้อความที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ที่ผู้วิจัยคาดว่าจะเกิดขึ้นมักจะเขียนในเชิงความเรียงธรรม
- สมมติฐานทางสถิติ เป็นการนำข้อความจากสมมติฐานการวิจัยมาเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ทางสถิติ
7. T-test, F-test เหมือนหรือต่างอย่างไร
T-test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย เหมาะสำหรับถ้าตัวแปรเป็นตัวแปรเชิงปริมาณที่สามารถวัดค่าได้
F – test (หรือ ANOVA) เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไป
T-test และ F – test เหมือนกันคือเป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย ต่างกันคือ F – test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยของข้อมูลตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป
วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2553
ใบงานที่ 8
เขียนโดย nattkon 14 ที่ 22:31 0 ความคิดเห็น
วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2553
ใบงานที่ 7 การตกแต่งเวบบอร์ดให้สวยงามและน่าสนใจ
ใบงานที่ 7 การตกแต่งเวบบอร์ดให้สวยงามและน่าสนใจ
1.การใส่ปฏิทินในเวบบอร์ด
- ค้นหาโค้ดปฏิทินจากเวบgoogle พิมพ์คำว่า code ปฏิทิน
- เลือกเวบที่เกี่ยวข้องเลือก รูปแบบปฏิทินที่ชอบแล้ว copy code
- เปิดบล็อกของตนเองเข้าไปที่รูปแบบ จากนั้นคลิ๊ก ในส่วนองค์ประกอบของหน้า เพิ่ม Gadget คลิ๊กในส่วนของ html /จาวาสคริป นำโค๊ดที่ได้วางไว้ในส่วนของเนื้อหา แล้วกด บันทึก (save) เพื่อยืนยัน2.การใส่นาฬิกา
- ค้นหาโค้ดนาฬิกาจากเวบgoogle พิมพ์คำว่า code นาฬิกา
- เลือกเวบที่เกี่ยวข้องเลือก รูปแบบนาฬิกาที่ชอบแล้ว copy code
- เปิดบล็อกของตนเองเข้าไปที่รูปแบบ จากนั้นคลิ๊ก ในส่วนองค์ประกอบของหน้า เพิ่ม Gadget คลิ๊กในส่วนของ html /จาวาสคริป นำโค๊ดที่ได้วางไว้ในส่วนของเนื้อหา แล้วกด บันทึก (save) เพื่อยืนยัน3.การทำสไลด์
- เข้าwww.slide.com เพื่อสมัครสมาชิก
- เข้าสู่ระบบ โดยการใส่ username และ password ที่ได้สมัครไปข้างต้น
- เมื่อเข้าสู่ระบบแล้วคลิ๊กสร้างการแสดงภาพสไลด์ จากนั้นไปที browse เพื่อเพิ่มรูปภาพที่ต้องการ ซึ่งภาพนี้อาจอยู่ในเครื่องคอมพวิเตอร์ของท่านหรือจากเวบที่ท่านทำการฝากรูปไว้ ทำการ upload รูป
- ปรับตกแต่งให้สวยงามตามความต้องการโดยเลือกรูปแบบ หลากหลาย ขนาด เอ๊ฟเฟกต่างๆ ตามใจชอบ เมื่อเลือกได้ตามที่ต้องการ ให้บันทึก เพื่อรับรหัส code จากนั้น copy code ที่ได้ไปวางไว้ในส่วนของบทความใหม่ หรือใน Gadget ก็ได้. เสร็จแล้ว คลิ๊ก บันทึก เพื่อยืนยันเกร็ดเล็กๆน้อยๆ....หากท่านเข้าเวบwww.slide.comแล้วพบว่าเป็นภาษาอังกฤษ อย่างเพิ่งตกใจ ให้เลื่อนเม้าส์ไปด้านล่างจะมีเมนูให้ท่านเปลี่ยนภาษาได้ .....4. การปรับแต่งสีใน blog
- เปิด blog ของตัวเอง เข้าไปในส่วนของ รูปแบบ จากนั้น คลิ๊ก แบบอักษรและสี สามารถเลือกปรับแต่งสี ในส่วนต่างๆของหน้า blog เมื่อเลือกเสร็จให้คลิ๊ก บันทึกการเปลี่ยนแปลงเพื่อยืนยันเกร็ดเล็กๆน้อยๆ หากท่านเปลี่ยน template ของบล็อก การปรับแต่งสีเป็นสิ่งสำคัญ5. การใส่เพลง - เข้าเวบ
http://happyvampires.gmember.com/home.php?1402 - เลือกเพลงที่ชื่นชอบ copy embed เพื่อนำ code ที่ได้ไปวางไว้ในบล็อกตนเอง- เข้าบล็อกตนเอง ไปวางในส่วนของบทความใหม่
เขียนโดย nattkon 14 ที่ 20:12 0 ความคิดเห็น
ใบงานที่ 11
ความรู้สึกของกระผม และความคิดเห็นเกี่ยวกับครูผู้สอนในการเรียนครั้งนี้ มีความเห็นว่าอาจารย์มีการเตรียมการสอน และตั้งใจให้ความรู้กับนักศึกษาอย่างเต็มที่ สอนตรงตามเนื้อหารายวิชา เต็มเวลา และสามารถให้นักศึกษากลับไปศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้ ทำให้มีความรู้เพิ่มเติมขึ้นอีกทั้ง เรื่องเทคโนโลยี และเนื้อหาที่อาจารย์สอน นักศึกษาสามารถนำไปใช้ในชีวิตการทำงานให้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น บ่งบอกได้ว่านักศึกษาที่ได้เรียนวิชานี้มีความเป็นผู้ทันสมัยทางเทคโนโลยี อันเป็นส่วนหนึ่งในการเป็น ผู้บริหารมืออาชีพต่อไป อาจารย์สอนด้วยความสนุกสนาน และตั้งใจแบบนี้สืบต่อไปเพื่อก้าวหน้าทางการศึกษา ขอบคุณที่ได้เรียนวิชานี้
เขียนโดย nattkon 14 ที่ 19:47 0 ความคิดเห็น
วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553
ใบงานที่ 10
ใบงานที่ 10 ประวัติส่วนตัว
นายณัฐกร อาจทอง หัวหน้างาน กิจกรรมนักเรียนนักศึกษา
ตำแหน่ง ครูชำนาญการ ครูประจำ แผนกวิชาช่างเชื่อมโลหะ
สังกัด วิทยาลัยสารพัดช่างพัทลุง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
เกิดวันที่ 29 พ.ย. 2514
ภูมิลำเนา 5/14 ถนนช่วยทุกขราษฎร์ ต.คูหาสวรรค์ อ.เมือง จ.พัทลุง
ประสบการด้านการศึกษา
ปริญญาตรี
ประกาศนียบัตรวิชาชีพครูเทคนิคชั้นสูง
สาขา เอกเชื่อมและประสาน
สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
วิทยาลัยเทคนิคยะลา
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ( ปวช. )
วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง
มัทยมศึกษาตอนต้น ( ม.3)
โรงเรียนพัทลุงพิทยาคม
ประสบการณ์ด้านการบริหารการศึกษา
1. หัวหน้างานการค้าและส่งเสริมผลผลิต ปี 2541 - 2552
2. หัวหน้าแผนกวิชาช่างเชื่อมโลหะ ปี 2546 - 2549
3. หัวหน้างานกิจกรรมนักเรียนนักศึกษา ปี 2552 – ปัจจุบัน
4. หัวหน้าศูนย์บ่มเพาะ ปี 2550 - 2552
ประสบการณ์ด้านการสอน
ระดับประกาศนียบัตร ( ปวช. )
1. ครูสายผู้สอน ตำแหน่งครู อันดับ คศ.2 ครูชำนาญการ ประจำแผนกวิชาช่างเชื่อมโลหะ
วิทยาลัยสารพัดช่างพัทลุง จังหวัดพัทลุง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ( ปี 2540 – ปัจจุบัน )
- สอนหลักสูตร ปวช.
- สอนหลักสูตรระยะสั้น
- สอนหลักสูตรมัธยม (การงานและอาชีพ ฯ )
- สอนหลักสูตรสะสมหน่วยกิต
ประสบการณ์กิจกรรมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
1. เป็นกรรมการกีฬามวยไทยสมัครเล่น สมาคมมวยไทยแห่งประเทศไทยในพระบรมชูอุปถัมณ์
- กรรมการมวยไทยสมัครเล่น ระดับภาคใต้ อาชีวะเกมส์ ณ. จังหวัดตรัง ปี 2550
- กรรมการมวยไทยสมัครเล่น ระดับภาคชาติ อาชีวะเกมส์ ณ. จังหวัดกรุงเทพมหานคร ปี 2550
- กรรมการมวยไทยสมัครเล่น ระดับภาคใต้ อาชีวะเกมส์ ณ. จังหวัดภูเก็ต ปี 2551
- กรรมการมวยไทยสมัครเล่น ระดับภาคชาติ อาชีวะเกมส์ ณ. จังหวัดกรุงเทพมหานคร ปี 2551
- กรรมการมวยไทยสมัครเล่น ระดับภาคชาติ อาชีวะเกมส์ ครั้งที่ 6 ณ. จังหวัดนครราชสีมา ปี 2552
- กรรมการมวยไทยสมัครเล่น ระดับภาคใต้ อาชีวะเกมส์ ครั้งที่ 9 ณ. จังหวัดพัทลุง ปี 2552
- กรรมการมวยไทยสมัครเล่น ระดับภาคชาติ อาชีวะเกมส์ ครั้งที่ 6 ณ. จังหวัดภูเก็ต ปี 2552
2. เป็นวิทยากรโครงการฝึกอบรม 108 อาชีพ
- งานกัดกระจก
- งานสกรีนเสื้อ
- งานเคลือบรูปวิทยาศาสตร์
- งานพ่นทราย
2. ผู้จัดการร้านสหการณ์วิทยาลัย ( ปี 2540 - 2552 )
- ออกแบบชุดพละ
- เสื้อฝึกงาน
- หัวเข็มขัด
- สมุดของสถานศึกษา
- ชุดนักศึกษาชาย หญิง
เขียนโดย nattkon 14 ที่ 22:02 0 ความคิดเห็น